วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จังหวัดพะเยา

จังหวัดพะเยา

                                                  
                             กว๊านพะเยาแหล่งชีวิต      ศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง 
                             บวงสรวงพ่อขุนงำเมือง     งามลือเลื่องดอยบุษราคัม

จังหวัดพะเยา (คำเมือง: Lanna-Phayao.png ) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบน บริเวณที่ตั้งของตัวเมืองพะเยาในปัจจุบันอยู่ติดกับกว๊านพะเยา เดิมเป็นที่ตั้งของเมือง ภูกามยาว หรือ พยาว ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 โดยมีผู้ปกครองคือ พญางำเมือง ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจ และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาจักรล้านนา

เมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองพะเยาอยู่ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียงรายในฐานะ อำเภอพะเยา และเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย  จังหวัดพะเยามีเนื้อที่ประมาณ 6,335 ตารางกิโลเมตร ตอนเหนือมีพื้นที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ทิศตะวันออกติดกับประเทศลาวและจังหวัดน่าน ส่วนทางตะวันตกติดกับจังหวัดลำปาง และทางด้านใต้ติดกับจังหวัดแพร่



ประวัติศาสตร์
พะเยาเป็นจังหวัดในกลุ่มล้านนาตะวันออกร่วมกับเชียงราย   ซึ่งมีสำเนียงภาษาถิ่นเหนือเป็นเอกลักษณ์ต่างจากภาษาถิ่นเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากความสัมพันธ์กับเชียงรายในแง่ของสำเนียงภาษาและวัฒนธรรมแล้ว พะเยาและเชียงรายยังมีความสัมพันธ์กันในลักษณะบ้านพี่เมืองน้องฉันท์เครือญาติ เนื่องจากในอดีต ราชวงศ์ที่ปกครองทั้งสองเมืองต่างสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ลาวจก หิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งได้ได้แตกสายออกมาเป็นราชวงศ์สำคัญในดินแดนพยาว เชียงแสนและล้านนาในยุคต่อมา เช่น ราชวงศ์เชียงแสนที่ปกครองเมืองเชียงราย ราชวงศ์เชียงแสนสายพญางำเมือง และราชวงศ์มังรายซึ่งปกครองเชียงใหม่ก็ถือกำเนิดมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน






สภาพทั่วไป

         ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 735 กม. ลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าเขา ที่ราบสูง มีระดับความสูงตั้งแต่ 300 – 1,550 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลักษณะภูมิอากาศเนื่องจากมีป่าไม้และภูเขาล้อมรอบจึงทำให้อากาศหนาวมากในฤดูหนาวและอากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน มีเทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาผีปันน้ำ มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำอิง แม่น้ำยม และแม่น้ำลาว

ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดพะเยา เป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีเขตระหว่าง
เส้นรุ้งที่ 18 องศา 44 ลิปดาเหนือ ถึง 19 องศา 44 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 40 ลิปดาตะวันออก ถึง 100 องศา 40 ลิปดาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
       ทิศเหนือ ติดเขต อ. พาน อ. ป่าแดด อ. เทิง จังหวัดเชียงราย
       ทิศใต้ ติดเขต อ. งาว จ. ลำปาง และ อ. สอง จ. แพร่
       ทิศตะวันออก ติดเขต แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ อ. ท่าวังผา อ. บ้านหลวง อ. สองแคว จ. น่าน
       ทิศตะวันตก ติดเขต อ. งาว อ. วังเหนือ จ. ลำปาง


ลักษณะภูมิประเทศ
             สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยา เป็นที่ราบสูงและภูเขา มีระดับความสูงตั้งแต่ 300-1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีเทือกเขาอยู่ทางทิศตะวันตก ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้และตอนกลางของพื้นที่จังหวัด มีเนื้อที่ประมาณ 6,335.06 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,959,412 ไร่ มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นลำดับที่ 15 ของภาคเหนือและมีพื้นที่ป่าไม้ (จากภาพถ่ายดาวเทียม ปี 2542) ประมาณ 1,503,174 ไร่ หรือร้อยละ 37.96 ของพื้นที่จังหวัด สภาพเป็นป่าดงดิบและป่าไม้เบญจพรรณ ไม้ที่สำคัญ ได้แก่  ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ไม้ยาง ไม้เต็ง ไม้รัง ฯลฯ จังหวัดพะเยามีพื้นอยู่ทั้งในที่ลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนที่อยู่ในลุ่มน้ำโขง คือพื้นที่อำเภอเมือง อ.ดอกคำใต้ อ.จุน อ.ปง(บางส่วน) อ.เชียงคำ และ อ.แม่ใจ ส่วนที่อยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ อ.ปง และ อ.เชียงม่วน ซึ่งเป็นต้นกำหนดของแม่น้ำยม
            เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ ดอยภูลังกา ดอยสันปันน้ำ ดอยแม่สุก ดอยขุนแม่แฝก ดอยขุนแม่ต๋ำ ดอยขุนแม่ต๋อม
ลักษณะภูมิอากาศ
แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือน พฤษภาคม อุณหภูมิวัดได้ 39.5 องศา ซ.
2. ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ฝนตกหนาแน่นในเดือนพฤษภาคม ฝนตกตลอดปีประมาณ 1,043.9 มม. มีวันฝนตก 101 วัน
3. ฤดูหนาว อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนพฤศจิกายน และ มกราคม อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 10.8 องศา ซ.ในเดือนธันวาคม
 การปกครอง
            ประกอบด้วย 9 อำเภอ คือ อ.เมืองพะเยา, อ.เชียงคำ, อ.เชียงม่วน, อ.ปง, อ.ดอกคำใต้, อ.จุน, อ.แม่ใจ, อ.ภูซาง และ อ.ภูกามยาว แบ่งเป็น 68 ตำบล  805  หมู่บ้าน
การปกครองท้องถิ่น
            - องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
            - เทศบาลเมือง 1 แห่ง
            - เทศบาลตำบล 11 แห่ง
            - องค์การบริหารส่วนตำบล 59 แห่ง

สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา

กว๊านพะเยา  
กว๊าน หมายถึง หนองน้ำ หรือบึงน้ำขนาดใหญ่ คำนี้มีใช้ในท้องถิ่นล้านนาเฉพาะที่จังหวัดพะเยาแห่งเดียวเท่านั้น กว๊านพะเยา เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ รูปพระจันทร์เสี้ยวเกือบครึ่งวงกลม แหว่งทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกเมื่อประมาณ 70 ล้านปีมาแล้ว โอบล้อมดอยแม่ใจซึ่งเป็นภูเขาสูงยาว เป็นแอ่งน้ำที่รวบรวมลำห้วยต่าง ๆ 18 สาย ต่อมาใน พ.ศ. 2478 กรมประมงได้ตั้งสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยาขึ้น บริเวณต้นแม่น้ำอิงและสร้างฝายกั้นน้ำ ทำให้เกิดเป็นบึงขนาดใหญ่ มีความลึกเฉลี่ย 1.5 เมตร 
กว๊านพะเยาเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดพะเยา ทั้งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดของภาคเหนือตอนบน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลากว่า 50 ชนิด เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลาไน และปลานิล อันลือชื่อของจังหวัดพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยามีความร่มรื่น สามารถมองเห็นแนวทิวเขาสลับซับซ้อนและงดงามมาก 
บริเวณริมกว๊านมีร้านอาหาร จัดเป็นสวนสาธารณะเหมาะแก่การนั่งเล่น พักผ่อนหย่อนใจยามเย็น และชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน ซึ่งเป็นภาพที่สวยงามมาก บริการนั่งเรือพายชมทัศนียภาพ ราคา ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท และมีโครงการเวียนเทียนทางน้ำรอบในวันสำคัญทางพุทธศาสนา คือวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ที่วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยาอายุกว่า 500 ปี



วัดศรีโคมคำ
 ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเดภอเมือง พะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 - 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง



อนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง 
อดีตกษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาวลำดับที่ ระหว่างปี พ.ศ. 1801 - 1841 เป็นยุคที่เจริญรุ่งเรืองมาก ประดิษฐานอยู่ที่สวนสาธารณะเทศบาลเมืองพะเยา (สวนสมเด็จย่า 90) หน้ากว๊านพะเยา เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานกับพ่อขุนเม็งรายแห่งเมืองเชียงราย


วัดติโลกอารามหรือสันธาตุบวกสี่แจ่ง 
พระอารามหลวงในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 9 แห่งราชวงศ์มังราย สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2019 - 2029 ปัจจุบันตัววัดจมอยู่ใต้กว๊านพะเยา ยกเว้นส่วนยอดพระธาตุที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา เนื่องจากปี พ.ศ. 2482 กรมประมงได้ก่อสร้างประตูกั้นน้ำ ทำให้แม่น้ำอิงและลำน้ำสาขาซึ่งไหลลงมาจากทิวเขาผีปันน้ำ เกิดการเอ่อล้นเข้าท่วมชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณหนองเอี้ยงจนเกิดทะเลสาบน้ำจืดขึ้นมา เรียกว่ากว๊านพะเยา ทำให้วัด โบราณสถาน และชุมชนโบราณจำนวนมาก จมอยู่ใต้น้ำ


ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ
 ตั้งอยู่ที่วัดหย่วน ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยัน อดทน เป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย รูปทรงบ้านเรือน อาหารการกิน เป็นต้น ศูนย์นี้จัดตั้งเพื่อแสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะผ้าของชาวไทลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส เช่น ลายดอกขอเครือ ลายดอกขอ ลายม้า และลายดอกตั้ง เป็นต้น



วัดพระธาตุจอมทอง 
อยู่บนดอยจอมทอง ถนนพหลโยธิน ตำบลต๋อม อำเภอเมือง พะเยา ไปนมัสการเจดีย์พระธาตุจอมทอง และยังได้ชมทัศนียภาพอันสวยงามของกว๊านพะเยาจากยอดเขา


อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง 
ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน มีพื้นที่ทั้งหมด 462,775 ไร่ พื้นที่ประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังภายในอุทยานฯ มีสัตว์หลายชนิด เช่น ตะพาบน้ำ ตะกวด นกชนิดต่างๆ โดยเฉพาะนกยูง นับเป็นอุทยานฯที่มีนกยูงมากที่สุดในภาคเหนือ



              อุทยานแห่งชาติภูลังกา
ครอบคลุมพื้นที่อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม และอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ มีเนื้อที่ประมาณ 31,250 ไร่ หรือประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร จุดเด่นที่น่าสนใจ คือดอยภูลังกา ดอยหัวลิง ดอยภูนมมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1720 และ 1693 และ 1500 เมตร ตามลำดับ



อุทยานแห่งชาติป่าแม่ปืม
มีพื้นที่ 222,500 ไร่ ครอบคลุมจังหวัดเชียงราย และพะเยา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่แก้ว ลำน้ำแม่ปืม ประกอบด้วยป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมง ไม้สนสองใบ ไม้ชิงชัน ไม้เหียงหลวง และไม้วงศ์ก่อ พบนกกว่า 40ชนิด สัตว์ป่าอื่น ๆ เช่น เก้ง หมูป่า เสือปลา กระจง เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นแหล่งเก็บกักน้ำที่สำคัญ คืออ่างเก็บน้ำแม่ปืม มีพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปีมีนกเป็ดน้ำจำนวนมากอพยพมาที่อ่างเก็บน้ำแม่ปืมซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ ที่ตั้ง : หมู่ 8 บ้านป่าตึง ต.แม่ใจ ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 56130 เวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน การเดินทาง : ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พะเยา-เชียงราย) ระยะทาง 17 กิโลเมตร ถึงหลักกิโลเมตรที่ 858 มีทางแยกขวาไปอีก 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ รวมระยะทาง 23 กิโลเมตร




ประเพณีของจังหวัดพะเยา

ประเพณีไหว้สาพระเจ้าตนหลวง  จัดทุก ๆ ปี เดือนพฤษภาคม เดือน 8 ของภาคเหนือ มีประเพณีแปดเพ็ง หมายถึง วันเพ็ญเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันวิสาขบูชา ตำนานเล่าถึงวันแปดเป็งที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าตนหลวงตั้งแต่เริ่มสร้างจนกระทั่งเสร็จ จึงมีการจัดประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงขึ้น ประเพณีแปดเป็งพระเจ้าตนหลวงเป็นงานประเพณีของ จ.พะเยา ซึ่งจัดว่ายิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญอย่างยิ่งของ จ.พะเยาหรืออาจจะกล่าวๆได้ว่าสำคัญและยิ่งใหญ่ในล้านนาก็ว่าได้ เนื่องจากมีการจัดงานสืบทอดกันมาอย่างยาวนานนับร้อยปี เมื่อถึงเทศกาลประเพณีดังกล่าว ผู้คนจากทั่วสารทิศจะเดินทางมาสู่ จ.พะเยาเพื่อกราบนมัสการขอพรจากองค์พระเจ้าตนหลวง พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองล้านนาและสร้างธรรมบารมีให้กับตนเองอย่างไม่ขาดสาย เบียดเสียดกันเพื่อเข้าไปกราบพระเจ้าตนหลวง ทั้งคนใน จ.พะเยา และต่างจังหวัด เช่น ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย ฯลฯ ในอดีตต่างประเทศ เช่น เชียงตุง ประเทศพม่า สินสองปันนา ประเทศจีนตอนใต้ และประชาชนจากหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ก็เดินทางมาเพื่อแสวงบุญกันอย่างล้นลาม 



เวียนเทียนกลางน้ำกว๊านพะเยา หนึ่งเดียวในโลกที่กว๊านพะเยา 1 ปี มีเพียง 3 ครั้ง คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และ วันอาสาฬหบูชา สำหรับกิจกรรมนั้นจะลงเรือไปกราบสักการะหลวงพ่อศิลาพระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 500ปี ประดิษฐานอยู่ ณ วัดติโลกอารามกลางกว๊านพะเยา พร้อมนั่งเรือเวียนเทียน 3 รอบ



งานสักการะบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง    ชาวพะเยาพร้อมใจร่วมพิธีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง รำลึกถึงเจ้าผู้ครองเมือง ผู้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ 1 ใน 3 อาณาจักรใหญ่ชนเผ่าไทยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการรำลึกถึงพ่อขุนงำเมือง กษัตริย์ที่ครองเมืองพะเยา ซึ่งในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และได้ทรงร่วมกับพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพ่อขุนเม็งรามหาราช สาบานเป็นพระสหายต่อกันที่เมืองพะเยา งานจัดขึ้นทุกวันที่ 5 มีนาคม ที่บริเวณอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมืองสวนสมเด็จย่า 90 โดยมีพิธีบวงสรวงแบบพราหมณ์ มีขบวนสักการะเทิดพระเกียรติ และการแสดงวัฒนธรรมล้านนา ประวัติกล่าวไว้ว่า พ่อขุนงำเมืองเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนมิ่งเมือง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองภูกามยาว หรือเมืองพะเยาในปัจจุบัน พ่อขุนงำเมืองเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพ เล่ากันว่าเสด็จไปทางไหน “แดดก็บ่ฮ้อน ฝนก็บ่ฮำ”จะทำให้แดดออกก็ได้ จะให้ฝนตกก็ได้ พ่อขุนงำเมืองปกครองเมืองภูกามยาวจนเจริญเป็นอาณาจักรใหญ่ 1 ใน 3 อาณาจักรของชนเผ่าไทยแถบนี้ นั่นคือ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรพะเยา

ประเพณีลอยกระทง (ประเพณียี่เป็ง)   เป็นประเพณี “ลอยกระทง”ที่ยึดถือเป็นธรรมเนียนปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่ช้านาน จะตรงกับวันเพ็ญ เดือนยี่เหนือ (เดือนพฤศจิกายน) ในแถบล้านนาจะยึดถือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ หรือ “วันยี่เป็ง” เป็นวันสำคัญในวันนี้จะเป็นวันขอขมาต่อแม่น้ำคงคาและพระแม่คงคา ที่ได้กระทำสิ่งไม่ดีต่อแม่น้ำลำคลอง ในช่วงเช้าจะมีการทำบุญตักบาตร และมีเทศน์มหาชาติฉบับล้านนา ตั้งแต่เช้ามืดจนถึงกลางคืน มีการปล่อยโคมลอยขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งชาวล้านนาถือว่า การลอยโคมนี้เป็นการปล่อยเคราะห์ ปล่อยโศก บ้างเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ นอกเหนือจากการลอยกระทง ที่กระทำเพื่อขอขมาต่อแม่น้ำและเพื่อลอยเคราะห์ลอยโศกออกจากตัวเราเช่นกัน

งานสืบสานตำนานไทยลื้อ จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคม เพื่อส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวไท ลื้อ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของอำเภอเชียงคำ ในงานมีขบวนแห่วัฒนธรรมที่สวยงาม ในเขตเทศบาลเชียงคำ มีการจำหน่ายอาหารไทลื้อการสาธิตพิธีกรรม ต่างๆเวลากว่า 200 ปี ที่ชาวไทลื้อเข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ระยะเวลาที่ยาวนานอีกทั้งวัฒนธรรมที่หลากหลาย


ของดีประจำจังหวัดพะเยา

ผ้าทอไทลื้อ เป็นศิลปะและลวดลายบนพื้นผ้าที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองของชาวไทยลื้อแวะไปชมวิธีการทอและซื้อหาได้บริเวณวัดพระธาตุสบแวน ยามว่างจากภาระกิจประจำ แม่บ้านจะมารวมตัวกันทอผ้าที่นี่ นอกจากนั้นยังหาซื้อได้ที่ตลาดนัดบ้านฮวก กิ่งอำเภอภูซาง ซึ่งจะจัดทุกวันที่ 10 และ 30 ของทุกเดือน


ปลาส้มพะเยา  เป็นอาหารพื้นเมืองเหนือโบราณ ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพะเยาทำมาจากเนื้อปลา นำมาหมักกับเกลือ ข้าว กระเทียม โดยไม่ใส่สารกันบูด สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ยำ ทอด ย่าง รับประทานได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จังหวัดพะเยาขึ้นชื่อ ในเรื่องปลาส้มอร่อยและนิยมนำมาเป็นของฝากให้แก่นักท่องเที่ยวที่แวะมาเยือนจังหวัดพะเยา


กะละแมโบราณ ในที่นี้เป็นสูตรของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นขนมหวานที่มีความเป็นมาแต่ยาวนาน โดย “กะละแมโบราณ” ใช้วิธีกวนเหมือนกันส่วนผสมคล้ายกันเหมือนกับการทำขนมปาดต่างกันตรงที่ขนมปาดใช้แป้งข้าวเจ้ากะละแมโบราณใช้แป้งข้าวเหนียว ขนมปาดมีสีแดงจากน้ำอ้อยกะละแมมีสีดำ โดยใช้กากมะพร้าวเผาการทำกะละแมโบราณ เน้นย้ำที่ความหอมจากใบตองและกรรมวิธีแบบโบราณ


ไวน์ห้วยข้าวก่ำ นำผลลิตด้านการเกษตรมาแปรรูปเพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งไวน์ข้าวก่ำเป็นข้าวที่ปลูกกันมากและเป็นชื่อของตำบลห้วยข้าวก่ำจึงตั้งชื่อว่าไวน์ข้าวก่ำและยังมีผลไม้ชนิดอื่นๆที่นำมาผลิตอีกจำนวนมาก เช่น ไวน์ผลไม้รวม ไวน์กระชายดำ เป็นต้น


ตะกร้าผักตบ มีการพัฒนาที่กระบวนการผลิต รูปแบบ ความคงทน และความสวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาด ตลอดจนมีการขยายกำลังการผลิตไปยังหมู่บ้าน/ตำบล ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้มีกำลังผลิตที่เพียงพอกับการรับคำสั่งซื้อของตลาดได้ สร้างรายได้เป็นสินค้า OTOP แก่ชุมชนชาวพะเยาหมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาอยู่ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน ห่างกันประมาณ 2กิโลเมตรชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา ได้แก่ หมวก กระเป๋า จานรองแก้ว และของประดับตกแต่งต่างๆ

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร


ข้าวหอมมะลิ
       ข้าวหอมมะลิของจังหวัดพะเยาจัดอยู่ในสินค้าระดับ Premium Grade เพราะจะมีเพียงฤดูนาปีเท่านั้น จังหวัดพะเยามีดินดีที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก กล่าวคือ ดินเหนียวใกล้เชิงภูเขาไฟและเป็นดินจากภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว ทำให้ข้าวมีรวงแข็งแรง เมล็ดสมบูรณ์ใหญ่ยาว เมื่อสีข้าวแล้วจะได้ข้าวเมล็ดเรียวยาว ขาวเป็นมัน เมื่อหุงสุกแล้วจะเหนียวนุ่มกลิ่นหอมตามธรรมชาติคล้าย ๆ กับกลิ่นใบเตย แม้ทิ้งไว้นานก็ยังคงสภาพกลิ่นหอม หุงแล้วนุ่ม


ลำไย
          ลำไยส่วนใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดพะเยา คือ พันธุ์อีดอ ลักษณะผลใหญ่ รูปทรงแป้นเบี้ยว เนื้อหวานสีขาวขุ่นค่อนข้างเหนียว รสหวาน มีปริมาณน้ำตาลประมาณร้อยละ 18.7 ผลจะแก่เร็วกว่าผลพันธุ์อื่น ต้นเดือนกรกฎาคมก็เก็บผลผลิตได้ นิยมปลูกในทุกอำเภอ แหล่งที่ปลูกมากคืออำเภอเชียงคำและอำเภอจุน ผลผลิตส่วนใหญ่จะผลิตเป็นลำไยอบแห้งทั้งเปลือก



ลิ้นจี่

       เนื่องจากสวนลิ้นจี่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพะเยาปลูกอยู่ระหว่างหุบเขาที่มีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปีและปลูกในดินที่มีปริมาณธาตุโพแทสเซียมสูง ส่งผลให้ลิ้นจี่ของจังหวัดพะเยามีลักษณะเด่น คือ ลูกใหญ่ สีผิวสวยตามชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน เนื้อแห้งกรอบ ไม่มีน้ำมาก เมื่อแกะรับประทานสด สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนจังหวัดอื่น ๆ ในภาคเหนือ


อาหารพื้นเมือง จังหวัดพะเยา

แก๋งเห็ดห้า
 เห็ดห้าหรือเห็นตับเต่า เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักจะพบในช่วงต้นฤดูฝนใต้ต้น มะกอกน้ำ ต้นขนุน  ต้นหว้า  ต้นส้ม ต้นมะม่วง  ซึ่งนิยมนำมาทำแกงหรือย่างกินเป็นอาหาร


ยำฮก
 “ยำฮก” (ยำรก) เมนูอาหารพื้นบ้านเมืองเหนือที่ทำให้หลายๆ คนน้ำลายสอและอยากที่จะลิ้มลองรสชาติอันแสนโอชะ


คั่วถั่วเน่า
ถั่วเน่าเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวเหนือ มีทั้งที่เป็นแบบแผ่นเรียกกันว่าถั่วเน่าแผ่นและแบบห่อใบตองแล้วนำไปนึ่งบางพื้นที่เรียนถั่วเน่าชนิดนี้ว่าถั่วเน่าเมอะ ถั่วเน่าเป็นภูมปัญญาในการถนอมอาหารของคนโบราณที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบันสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายประเภทและที่สำคัญมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย


ลาบหมู
ถ้าพูดถึงอาหารเหนือหลายคนจะนึกถึง ลาบ ลาบถือว่าเป็นวัฒนธรรมการกินและเป็นอาหารชั้นเลิศของชาวเหนือ พ่ออุ้ยเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนลาบจะได้กินเฉพาะในงานวันสำคัญที่พิเศษเท่านั้น ในงานจะมีการล้มวัว ล้มควาย หรือหมู เพื่อนำมาทำลาบแบ่งปันสู่กัน


แก๋งผักหม
แกงผักหม (แกงผักโขม) ผักหม(ผักโขม)ผักพื้นบ้านขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติเช่น ป่าละเมาะ ริมทาง ชายป่าที่รกร้าง  ในบริเวณสวนผัก สวนผลไม้ ไร่นาของชาวบ้าน ผักหมมีคุณค่าทางด้านสารอาหารมากมายมีโปรตีนสูงและที่สำคัญสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย


ไข่ป่าม  

                ไข่ป่าม อาหารพื้นบ้านภาคเหนือตี่ดูแสนธรรมดาแต่ขอบอกว่าแสนจะอร่อย ไข่ป่ามเป็นอาหารพื้นบ้านภาคเหนือทำจากไข่ไก่ปรุงรสนำมาใส่กระทงใบตองแล้วนำไปปิ้งไฟ ขอบอกเลยว่ารสชาติแสนอร่อยมีกลิ่นหอมของใบตองนิดๆ เพิมความอร่อยให้กับเมนูไข่    




ข้อมูลการเดินทางของพะเยา

ข้อมูลการเดินทางของพะเยา


            จังหวัดพะเยาอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 735 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดพะเยาได้อย่างสะดวกด้วยรถยนต์ส่วนตัวและรถประจำทางโดยรถยนต์สามารถเดินทางได้หลายเส้นทาง เช่น
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ลำปาง แล้วเข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 969 กิโลเมตร
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 117 จนถึงพิษณุโลก แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 12 ไปจนถึงสุโขทัย เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 101 ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 ผ่านอำเภอร้องกวาง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านอำเภองาว เข้าสู่ตัวเมืองพะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร
3. สามารถเดินทางเป็นวงรอบได้โดยใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-นครสวรรค์-พิษณุโลก-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-เด่นชัย-แพร่-ร้องกวาง-พะเยา ระยะทาง 782 กิโลเมตร
เส้นทางที่ 2 และ 3 จะมีระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางที่ 1 แต่ลักษณะเส้นทางจะแคบและคดเคี้ยว ผู้ขับจึงต้องมีความชำนาญในการขับและใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการเดินทางโดยรถประจำทางมีรถประจำทางปรับอากาศสายกรุงเทพฯ-พะเยา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ทั้งรถโดยสารแบบธรรมดาและปรับอากาศ สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th สยามเฟิร์สทัวร์ โทร. 0 2936 1120 สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-8 โชครุ่งทวีทัวร์ โทร. 0 2936 4274-6
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.comการเดินทางภายใน พะเยาการคมนาคมภายในตัวจังหวัดพะเยาสะดวกสบาย ไม่หนาแน่น นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม
• รถสองแถวท้องถิ่น ให้บริการแบบไม่ประจำทางในเขตตัวเมืองพะเยา สามารถเรียกใช้บริการได้ตลอด ราคาค่าบริการคิดเป็นอัตราเหมาตามระยะทาง
• รถสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) ให้บริการในเขตตัวเมืองพะเยา มักจอดรอผู้โดยสารบริเวณสถานีขนส่ง อัตราค่าบริการตกลงกันตามระยะทาง และแบบเหมาจ่ายหากระยะทางไกล
• รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง มีวินให้บริการทั่วเมืองพะเยา และบริเวณสถานีขนส่ง ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 10 บาท หรือจะหาเช่ารถจักรยานปั่นเล่นในตัวเมือง ริมกว๊านยามเย็น สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้จากโรงแรมที่พัก